24 กรกฎาคม 2560

โยมหลายคนอาจจะเคยบ่นว่า
ทุ่มเทและทำดีมากมาย
แต่ทำไมไม่มีใครเห็นหรือใครชื่นชม
แถมบางครั้งมีคนนินทาต่างๆนาๆ
สาเหตุนั้นเป็นเพราะว่า
คำสรรเสริญหรือคำนินทาใดนี้
"ไม่ใช่รางวัลของการทำดี"

รางวัลของการทำดีนี้
ไม่มีค่าเป็นราคาให้ใช้เงินซื้อหามาได้
และไม่มีใครจะให้รางวัลกับการทำดีนี้
ได้ดีเท่าตัวเราที่จะมีใจที่ปิติทุกครั้งเมื่อทำ
เมื่อเรารักตัวเองมากพอ
จะทำให้เราอยากเดินออกมา
จากอะไรก็ตามที่ทำให้ใจเรา
"เป็นทุกข์ทั้งกายและใจ"

การเดินถอยออกมา
มันไม่ใช่ความพ่ายแพ้อะไรเลย
แต่เป็นการเลือกที่จะให้ใจได้สงบ
หลบมาอาศัยร่มเงาแห่ง"ธรรมะ"

การใช้เวลาที่จะดูตัวเอง
ทำความรู้จักกับตัวเองและเตรียมพร้อม
บางอย่างไว้ให้กับตัวเองให้คุ้นเคย
เตรียมพร้อมสำหรับการต้องเดินทาง
ไปในโลกหน้าโดยลำพังผู้เดียว

ความสงบจะนำพาให้ใจเราพบธรรมะ
ที่สุดของเสบียงแห่งการเดินทางในวัฏสงสาร
เป็นได้ทุกสิ่ง เป็นดั่งแสงไฟส่องทาง

"บุญกุศล" 
เท่านั้นที่หมายถึง...
ซึ่งใจที่สงบจะพานพบในไม่ช้านาน

12 กรกฎาคม 2560

แค่นี้เองคำคน

ท่ามกลางคำพูดมากมาย
จะมีอยู่ 2 คำ ที่มีผลต่อคนย่างมาก
หนึ่ง คือ คำติ และสอง คือ คำชม

"..คนบางคนสร้างตัวจากคำติ
คนบางคนเสียคนเพราะคำชม
คนบางคนได้ดีจากคำชม
คนบางคนเป็นผู้เป็นคนจากคำติ.."

10 กรกฎาคม 2560

ทุกข์ ในอริยสัจ 4 มี 11 ประการ
1. ความเกิด
2. ความแก่
3. ความตาย
4. ความเศร้าโศก
5. ความพร่ำเพ้อรำพัน
6. ความลำบากกาย
7. ความลำบากใจ
8. ความคับแค้นใจ
9. ความประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบ
10. ความพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ
11. ความผิดหวังไม่ได้ตามที่ต้องการ



ทุกข์
แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง สังขารทั้งปวง อันได้แก่ ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์
การกำหนดทุกข์ถือเป็นกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่
รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ (สมุทัย) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ (นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ (มรรค) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส


ทุกข์ถือเป็นความจริงอันประเสริฐข้อที่ 1 ในอริยสัจ 4 จึงเรียกว่าทุกขสัจ มี 11 อย่าง ได้แก่
1. ชาติ
หมายถึง ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ  
2. ชรา
หมายถึง ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่นเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ  
3. มรณะ
หมายถึง ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ
4. โสกะ
หมายถึง ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วย ความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือ ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว
5. ปริเทวะ
หมายถึง ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วย ความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
6. ทุกข์ (กาย)
หมายถึง ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่ กายสัมผัส
7. โทมนัส
หมายถึง ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ด ีที่เป็นทุกข์เกิดแต่ มโนสัมผัส  
8. อุปายาส
หมายถึง ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคล ผู้ประกอบด้วยความพิบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือ ทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว
9. ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
หมายถึง ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกาย) อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วย บุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ (กิเลส)  
10. ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
หมายถึง ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษม จากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต  
11. ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
หมายถึง ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่ สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มี โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมี โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา

8 กรกฎาคม 2560

สรุปการเรียนรู้จากการอบรมถวายความรู
โยมอาจารย์ รศ.ดร.โสรีช์ โพธิแก้ว
○การปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา○

»»สิ่งที่ฉันเรียนรู้้ ผู้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาต้องมีแผนที่ในการที่จะนำผู้คนตรงหน้าก้าวพ้นจากความทุกข์ซึ่งแผนที่ที่เที่ยงตรงที่สุดคือ
อริยสัจ 4  และ พุทธธรรม ที่เราควรจะต้องศึกษาให้ถ่องแท้ที่สุด

ทั้งหมดจะมาก็ต้องจากการเฝ้าสังเกตุของเรา
สังเกตุความคิดของเราและใคร่ครวญว่า
…..เรากำลังอยู่กับเขา หรือเปล่า?
…..หรือเรากำลังอยู่กับตัวเรา?

อีกหนึ่ง คีย์wordที่สำคัญ
….ที่ว่างที่เราให้เขา หรือ Space
{ที่ว่างอันไกลโพ้น  ที่ที่เราจะไปพบกัน}
ที่ก่อเกิดการเรียนรุ้ของตนเองชัดเจนมากขึ้น
ได้กลับมารับรู้ว่าเราควรอยู่กับเขาด้วยใจว่าง
พร้อมที่ว่างที่รับรู้เขาอย่างผู้เป็นกัลยานมิตรกัน
ใช้ความเป็นสัมมาทิฏฐิ เปลี่ยน มิจฉาทิฏฐิและอวิชชา
ในใจเขาให้เข้าที่เข้าทาง..ของมันอย่างเข้าใจเขา

อย่าปล่อยให้อดีตอันไกลโพ้น มาครอบงำจิตใจที่เเจ่มใส
เพราะความทุกข์ไม่ได้เกิดจากภายนอก หรือภายใน
แต่มันเกิดเพราะ”อวิชชา…..ความเห็นที่คาดเคลื่อน”


ความคาดหวังจะเกิดขึ้นเมื่อใจชอบและไม่ชอบ มีตัวกูของกูเป็นตัวกำหนดความชอบเกิดพื้นที่ คนที่มีเรื่องราว มักจะถูกเพราะคนที่ไม่ทุกข์ มักจะไม่ค่อยมีเรื่องราว

สิ่งหนึ่งที่จะพัฒนา ใจเราให้เข้มแข็ง
ในฐานะผู้ให้การปรึกษาคือใจที่มีเมตตากรุณา เป็นใจที่ มีปัญญามีขันติ มีความบริสุทธิ์
หลวงพ่อพุทธทาสเคยสอนว่าอย่ามีชีวิตอยู่ด้วยความคาดหวังให้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยปัญญา จุดนี้ทำให้ได้เห็น และได้กลับมาพัฒนาใจตัวเองให้ดีขึ้นเห็นชัดขึ้นมาก

จากการทดสอบในกลุ่มย่อยหลายๆสิ่งที่ แสดงออกมาเป็นส่วนที่ต้องฝึกฝนเพิ่มเติมอยู่ไม่ใช่น้อยซึ่งก็ได้จดบันทึกและนำกลับมาปรับปรุงแก้ไข
{*ดังคำจากนักปราชญ์อีกหลายท่านหลายประโยคที่...จดบันทึกไว}้

ฉะนั้นเมื่อมนุษย์ทั้งหลายบนโลกใบนี้ ทุกอย่างด้วยใจที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็จะรู้ว่าเรามีความสัมพันธ์กับผู้คนทั้งหลายสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นปัจจัยที่ทำ
ให้เราดำเนินชีวิตอยู่ได้แบบนี้ไม่มีเขาก็ไม่มีเราไม่มีสิ่งตรงนั้นก็ไม่มีสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเราตรงนี้ เมื่อเห็นเช่นนี้เราจะไม่วางใจ หรือให้ร้ายกับใครซึ่งจะทำให้ใจเรากลับมาเป็นใจที่บริสุทธิ์พร้อมที่จะเลือกซื้อเนื้อแบ่งปันความดีงามสู่ผู้คนได้มากๆๆ

สิ่งที่จะทำให้เราเชื่อมเข้าใกล้เขา คือสมาธิ ฝึกอยู่กับชีวิตตัวเองให้เต็มอิ่มยิ่งขึ้นมีสติอยู่กับ
ปัจจุบันขณะที่ทำอย่างลุ่มลึก หลุดพ้นจากโลกของความคิดที่มันกักขังเราอยู่อย่าทำตัวเหนือกว่า ผลงานและผลงานเหนือกว่าเรา จงอยู่ด้วยความเข้าใจ empathy  เพราะ หากเราไม่ได้รับความเข้าใจก็จะมี โปรแกรมปกป้องตัวเอง
เป็น depensive
คนที่มาหาเราบางทีก็มาด้วย ปัญหาที่ดูไม่หนักหนา แต่ถ้าเราฟังจนถึงความคาดหวังของเขาจริงๆอาจจะไม่ใช่อย่างที่เราเห็น…….มันไม่ได้อยู่ข้างนอกแต่มันอยู่ลึกลงไปข้างใน
ปัญหาภายนอกไม่สำคัญเท่าปัญหาภายใน
การไม่เข้าไปตัดสินเขาด้วยใจของเราเป็น เรื่องที่ต้องพึงระวังให้จงหนักๆหลายครั้งด้วยประสบการณ์ของเราหรือไม่ความมีเมตตามากเกินไปก็กลายเป็น
ชี้นำหรือตัดสินเขาไปก่อนพื้นที่ที่เคยมีด้วยกันก็กลับมาอยู่แค่ที่เราการศึกษาจึงอาจจะไม่ได้ผลที่สมบูรณ์อันนี้เป็นอีกข้อที่ได้บันทึกไว้ในการเพิ่มเติมให้กับตัวเอง
และส่วนใหญ่ความคาดหวังมักจะเกิดจากบุคคลใกล้ตัวผู้ที่ถูก คือสิ่งใกล้ๆตัวนั่นเอง
และนั่นคือสิ่งที่เราต้องดูแล

การเป็นผู้รับฟัง ก็เป็นปัจจัยสำคัญเพราะ
เราต้องใช้การฟังเขาเพื่ออยู่กับเขาเพื่อช่วยเขาเพื่อออกทุกข์ของิเขา
เขาจะรับรู้ได้ถึงคลื่นที่ปรับเข้าหากันและกันอย่าง
พอเหมาะโดยที่เราใช้ตัวอุเบกขาเป็นฐานของใจ
เราแล้วร่วมเดินทางไปกับเขา สร้างความเชื่อความศรัทธาให้เกิดในใจเขา เพราะความศรัทธาจะทำให้เราเป็นอย่างที่เรา อยากเป็น
ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเดี๋ยวมาจารได้กล่าวสรุปว่าก็คือหลักของไตรสิกขาซึ่งนำมา เป็นหลักควบคู่กับการใช้แผนที่คืออริยสัจ 4 ซึ่งทั้งหมดของการศึกษาค้นคว้า ก็ด้วยพุทธธรรม

สิ่งที่เกิดขึ้นในการ workshop
เพื่อเรียนรู้ให้ตัวเอง

สิ่งที่ได้เรียนรู้และเป็นสิ่งที่ตัวเองต้องเพิ่มเติมให้มากคือภาวะที่สมาธิยังไม่นิ่งพอทำให้คลื่นที่เราส่งไปกับเขา ไม่ค่อยจะเสถียรราบรื่นอันก่อผลไปถึงทำให้พื้นที่
ระหว่างเราก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วยอีกส่วนคือใจที่คิดอยากช่วยมากไปก็กลายเป็น รีบร้อนและและกลับมาอยู่กับตัวเองมากเกินกว่าที่ควรจะ
อยู่กับเขา...พร้อมถึงได้เห็นมุมมองต่างๆจากสมาชิกในกลุ่มซึ่งก็เป็นมุมมองที่ยอดเยี่ยมหลังจากถอดบทเรียนแล้วก็ทำให้ได้จดบันทึกหลายข้อสำหรับตัวเองเป็นสิ่งที่ดีงามที่จะใช้ในการพัฒนาตนเองได้อีกมาก

สุดท้ายการได้กลับมาสังเกตุตัวตน….สังเกตุชีวิตมากขึ้นๆ
ก็ก่อประโยชน์อย่างยิ่งในการเป็นผู้ให้คำปรึกษา

แม้ในความเป็นพระภิกษุจะมีโอกาสในการใช้ธรรมะกับผู้ที่กำลังทุกข์ได้ง่าย...แต่หากได้ทำด้วยขั้นตอนตามแนววิชาการ
ของจิตวิทยาการปรึกษาที่ดี ประโยชน์ที่ผู้คนที่กำลังทุกข์จะได้รับก็ย่อมจะมากขึ้นอันจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เขาจึงอยู่ที่การพัฒนาตนและพยายามปรับปรุงตัวพัฒนาใจให้ดียิ่งขึ้น


»» คุ้มค่าอย่างยิ่งในการพยายามฝึกปรือพัฒนาตน
แล้วได้มาร่วมได้รับการ ถ่ายทอดความรู้จากโยมอาจารย์ปลื้มอาตมภาพขอรับปากว่าจะนำทุกคำที่ได้เรียนรู้และพัฒนาเพื่อแปรเปลี่ยนเป็นความรักความปรารถนาดีออกไปให้แก่ผู้คนตรงหน้าอีกมากมายทั้งในส่วนงานเยี่ยมไข้ที่ได้ทำอยู่สม่ำเสมอก็จะพยายามใช้สมาธิและใช้แผนที่คืออริยสัจ 4 อย่างสม่ำเสมอจะดำรงอยู่ตามคำแห่งพุทธธรรม สุดที่กำลังจะมีเพื่อคุณได้จนกว่าชีวิตจะหมดลม

เจริญพร
พระภัทรพล ชุตินฺธโร