2 ตุลาคม 2559

ใกล้ลูกแต่ใจไกล

#เราให้พื้นที่ลูกเรา...แค่ไหน!!


ปัญหาหนึ่งที่พบเจอของหลายๆ บ้าน คือ คุณพ่อคุณแม่มักจะใกล้กับลูกแค่กาย แต่ใจไม่ใกล้กัน
.
ลองสำรวจบ้านตัวเองดูนะคะว่า 
เวลาคุณพ่อคุณแม่เร่งให้ลูกรีบไปโรงเรียน แต่งตัวกินข้าว ทำการบ้าน คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่าตอนนั้นลูกรู้สึกอย่างไร?
.
.
เวลาที่อ่านนิทานให้ลูกฟัง เวลาเล่นกับลูก ลูกยิ้ม ลูกหัวเราะ แต่คุณพ่อคุณแม่แน่ใจไหมคะว่า ลูกมีความสุข หรือลูกยังกังวลอะไรอยู่หรือเปล่า?
.
.
หลายบ้านคุณพ่อคุณแม่มีเวลาอยู่ใกล้ชิดกับลูก คอยดูแลเป็นอย่างดี เล่นกับลูก มีความสุข แต่หลายครั้งก็หลงลืมไปว่าลูกกำลังรู้สึกอย่างไร
.
.
ลูกโตขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ลูกต้องการ โดยเฉพาะทางจิตใจเริ่มมีความซับซ้อน และสิ่งที่ลูกต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ #ความมั่นคงทางจิตใจ #การรู้สึกว่าตัวเองมีค่า #เป็นที่ต้องการ
.

ซึ่งความรู้สึกนี้มีตลอดเวลา แม้ในเวลาที่เขาทำผิด เวลาที่เขาเศร้า ผิดหวัง ไม่ใช่มีเฉพาะเวลาที่เขาเรียนได้คะแนนดี หรือเวลาที่เขาทำอะไรถูกใจผู้ใหญ่
.
.
การที่เด็กๆ โตขึ้น ต้องเจอปัญหาอะไรที่มากขึ้น เช่น เขียน ก ไก่ ไม่ได้ เพื่อนไม่เล่นด้วย โดนล้อ ครูดุ ระบายสีออกนอกเส้น กลัวคุณพ่อคุณแม่ดุ...
.
.
 ปัญหาเล็กๆ เหล่านี้เปรียบเสมือน #คลื่นพายุในใจของเขา การที่เขาจะฟันฝ่าไปได้ จำเป็นจะต้องอาศัยคนที่เข้าใจและรับฟัง และต้อง
#ฟังด้วยหัวใจไม่ใช่การสอน_ดุว่าหรือโต้เถียง
.
.
พราะไม่เช่นนั้น คลื่นพายุในใจอาจจะส่งออกมากลายเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ก็เป็นได้ 
.
.
แล้วจะทำยังไง  เริ่มต้นด้วยเทคนิคง่ายๆ คือ  #ถามและฟังให้เป็น
ลองถามตัวเองดูสิคะ...เคยถามลูกบ้างไหมว่า #หนูรู้สึกยังไง
.
หนูรู้สึกยังไง เวลาแม่โมโห
หนูรู้สึกยังไง เวลาแม่เล่านิทานให้ฟัง
หนูรู้สึกยังไง เวลาระบายสีไม่ได้
ฯลฯ
.
.
ถามและรับฟัง โดยไม่โต้แย้ง ไม่สั่งสอน ไม่บอก เพียงแค่ตั้งใจฟัง และอาจจะกอด ถ้าเห็นว่าควรทำ เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้ปลดปล่อยและระบายความเครียดในใจ
.
.
ตัวอย่างเช่น 
คุณพ่อคุณแม่ถามว่า หนูรู้สึกยังไงที่ต้องทำการบ้าน ลูกอาจจะบอกว่าเบื่อ อยากไปเล่น หรืออะไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทน ไม่บอก ไม่สอน ยังไม่ต้องดุหรือว่าในตอนนี้
.
.
ไม่ต้องยกเหตุผลนู้นนี่ เช่น การบ้านทำให้เราเก่ง ทำให้อดทน แต่ขอให้รับฟัง อาจจะแค่ยิ้ม หรือตอบรับ ซึ่งจะทำให้ลูกสบายใจที่ได้พูดออกมา และหากมีโอกาสเหมาะสมจึงค่อยมาพูดหรือสอนเรื่องนี้กันใหม่
.
.
 เพราะเทคนิคนี้ แอดมินแค่อยากให้คุณพ่อคุณแม่ตั้งใจและรับรู้ความรู้สึกของลูก เพื่อที่ลูกจะได้ #กล้าพูด #กล้าระบายความในใจ เพราะรู้สึกว่ามีคนเข้าใจ มีคนเห็นค่า 
.
.
เหมือนกับที่ผู้ใหญ่หลายคนรู้สึกเวลามีปัญหา ขอแค่ใครสักคนรับฟัง โดยไม่ตัดสิน ไม่สอน ไม่โต้แย้ง นั่นแหละเด็กๆ ก็ต้องการแค่นั้น
.
.
✨ ถ้าเราไม่รู้จักถามลูก เราก็จะไม่ได้รู้ลึกลงไปว่าใจจริงๆ แล้วลูกต้องการอะไร รู้สึกอย่างไร และเราก็จะรู้จักลูกในแง่มุมที่เรามอง แต่ไม่รู้จักลูกในแบบที่ลูกเป็นจริงๆ
.
.
จากนั้นเมื่อเขาค่อยๆ โตขึ้น ช่องว่างนี้ก็จะยิ่งห่างออกไปตามวัย เมื่อมีอะไรเขาก็อาจจะเลือกเล่าให้คนอื่นฟัง #เพราะเล่าไปเราก็ไม่เข้าใจ หรือไม่ก็คงจะสอน ดุ หรือต่อว่า
.
.
สุดท้าย เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น เราก็อาจเป็นคนสุดท้ายที่รู้...
.
.
#ถามความรู้สึกของลูกและฝึกให้เป็นนิสัยเสียตั้งแต่วันนี้ เมื่อมีอะไร ลูกจะได้สามารถเล่าให้เราฟังได้อย่างสบายใจ
.
#ราอยากเป็นที่พักพิงให้ลูก ก็ต้องฝึกตัวเองให้เป็นผู้ฟังที่ดี และทำให้ลูกรู้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะรับฟัง
ความรู้สึกของเขาเสมอ ❤❤❤
.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น