8 สิงหาคม 2560

เมื่อหลายสิบปีก่อน
ผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนเลย
ว่าดวงวิญญาณที่จะมาถือปฏิสนธิในครรภ์ของท่านนั้น มาจากสวรรค์ชั้นไหน หรือมาจากนรกขุมใด แต่ทันทีที่รู้ว่าแม้กำลังตั้งท้อง เธอจะดีใจยินดีอนุญาติให้ลูกมาถือปฏิสนธิทันที ไม่มีความรังเกียจคิดสิ่งไหนแต่ประการใด 

             " รักใดเล่าจะแน่เท่าแม่รัก

                ผูกสมัครรักม่นไม่หวั่นไหว

                ห่วงใดเล่าเท่าห่วงดังดวงใจ

                ที่แม่ให้แก่ลูกอยู่ทุกครา

               ยามล้มกลิ้งใครหนอวิ่งเข้ามาช่วย

                แล้วปลอดด้วยคำหวานกล่อมขวัญให้

                พร้อมจูบที่เจ็บชมัดปัดเป่าไป

                ผู้นั้นไซร้ที่แท้..แม่ฉันเอง  "

แม่ คำๆนี้เป็นเพียงคำสั้นๆ แต่มีความหมายที่ลึกซึ้ง ท่านคือผู้หญิงธรรมดาๆคนหนึ่งบนโลก แต่กลับเป็นคนพิเศษสำหรับลูกรัก แม่คือผู้ประเสริฐสุดในชีวิตทุกๆชีวิต เป็นผู้ที่สามารถให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่ลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เงินทอง
ของมีค่าหรือแม้กระทั่ง ลมหายใจที่ยังเหลืออยู่ของแม่

ตลอดเวลาตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่
จน ณ วินาทีนี้แม่ก็ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ไม่มีสิ้นสุด แม่ให้ทั้งความรัก ความห่วงหา ความห่วงใย ความอาทรอีกทั้งยังมอบความรักที่มิอาจมีรักใด
มาทดแทนได้ให้แก่เรา
นั่นก็คือความรัก ความผูกพัน
ระหว่าง … แม่ และ ลูก …

รักของแม่นั้นเปรียบดั่งสายธารา ที่คอยระงับความทุกข์ใจของลูก แม้ในยามที่ลูกไม่ต้องการ

แม่ก็คือผู้ให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี
ในเวลาที่ลูกรักต้องเสียน้ำตา แม่ก็สละเวลาทำงานของแม่ มาคอยปลอบโยนไม่คิดโกรธ หรือเคืองลูกรักแม้แต่น้อย
และที่ในบางครั้งบางคราว ลูกรักก็ไม่เชื่อฟังคำที่แม่พร่ำสั่งพร่ำสอน ในช่วงเวลาต่างๆในชีวิต
เรานั้นก็ต่างผ่านอารมณ์ต่างๆ มามากมาย ในเวลาที่เรามีความสุข แม่ก็มีความสุขไปกับเรา แต่ในเวลาที่เราทุกข์แม่กลับทุกข์กว่าเรา
หลาย 10 หลาย 100 เท่านัก
แต่ท่านก็ไม่เคยแสดงออกถึงความอ่อนล้า

ตั้งแต่ เด็กจนเติบโตเป็นวัยรุ่น แม่เฝ้าสั่งสอนให้เป็นคนดี ตั้งใจเรียนหนังสือ และแม่ก็ให้ความรักอย่างจริงใจ แม้ว่าสิ่งที่เคยทำผิดพลาดไปนับครั้งไม่ถ้วน แม่ก็ยังให้อภัยลูกคนนี้เสมอ
และยังมอบรอยยิ้มทั้ง ๆ ที่แม่ ก็ต้องเสียน้ำตา ความผิดของลูกไม่ว่าจะครั้งไหน
ร้ายแรงสักเพียงใด
แม่ก็ยังพร้อมที่จะอ้าแขนกอดลูก
ด้วยความรักเสมอมา

สุขทุกข์...แค่รับรู้

คนเราอยากมีความสุข
และก็ไม่อยากเป็นทุกข์ 
สิ่งที่จะทำให้เราเป็นสุข หรือทุกข์
สิ่งหนึ่งทางธรรมเรียกว่า..."ผัสสะ"

คือ ตาเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายกระทบ ใจนึกคิด
สิ่งที่จะเข้ามาสู่ตัวเรา มี 6 ช่องทางนี้....เท่านั้น!!!

พอเราได้รับผัสสะ  ไม่ว่าจากช่องทางไหน
ก็จะรับรู้ด้วยการรู้สึก  "ชอบ ชัง และเฉย"

#ชอบ....ก็วิ่งตาม ไขว่คว้า  ร่าเริง  หัวเราะ
#ชัง ......ก็ขุ่นข้อง  ร้องไห้  ผลักไส  โมโห
#เฉย.....ก็ไม่รับรู้  หดหู่  ซบเซา
ทั้งสามสิ่งนี้คืออาการให้จิตเรา....#สะเทือน

ตามปกติเมื่อมีการสะเทือน....ก็เสียการทรงตัว
จิตเราก็เช่นกัน.....ก็สอดส่าย  หวั่นไหว  ไม่คงที่
อะไรที่ควรทำ ไม่ควรทำ.....ก็ไม่รู้แล้ว
ควรทำแต่ไม่ทำ   ไม่ควรทำกลับไปทำ
#ปัญหาของชีวิตเกิดจากตรงนี้นี่แหละ!!!!

แต่หากเรามีสติ.....ที่มาจากการฝึกฝนจนคุ้นชิน
เราก็จะตั้งรับตั้งหลักได้ถูก
อะไรจะมากระทบ.....ก็กระทบไป
จะเข้ามากระทบเช่นไร....เราก็ไม่กระเทือน

คือรู้เท่าทันว่า.....อะไรเป็นอะไร
รับรู้ว่ารูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสนั้นๆ
มันไม่ใช่ของจริง  ของที่ยั่งยืนใดๆ
มีเพียงแค่ไม่นาน....เดี๋ยวมันก็จะหายไป

●●
✌เช่น ก๋วยเตี่ยวชามนี้ รสชาดอร่อยถูกใจเราที่สุด
กินไปด้วยความอร่อย......ถูกใจถูกคอ
สักพักในชามก็เหลือเพียง....ถ้วยเปล่าๆใบนึง

หรือ กลับกันว่า.....ก๋วยเตี๋ยวชามนี้รสชาดแปลกๆ
เราไม่ถูกลิ้น...ไม่อยากกินเลย..."หิวก็หิว....โมโหก็โมโห"
นั่งบ่นไปมันก็ไม่ได้รสชาดดีขึ้นมาได้
นอกจากเราจะรับรู้ หรือไม่ก็หากินอย่างอื่น
#เพราะทั้งสิ่งที่พอใจหรือไม่พอใจ__มันไม่อยู่กับเรานาน☝☝
●●

เมื่อเราคุ้นชินและคุ้นเคยว่า...นี่คือปกติธรรมดา
เราก็จะมี"สติ" อันเป็นบ่อเกิดของ "ปัญญา"🌌

เมื่อมีปัญญาเสียแล้ว...ปัญหาก็ไม่เกิด
หรือแม้จะเกิดปัญหานั้นๆก็น้อย
#เราก็สามารถแก้ได้ไปตามเหตุปัจจัยด้วย_สติปัญญา
ชีวิตที่มีก็ดำเนินไปด้วยวิถีแห่งสุขเพียงพอ
_______________________________________
#เรายังเป็นผู้ต้องฝึกตน
◎ การปฏิบัติธรรมไม่ได้ยากแบบที่เคยคิดอีกต่อไป ◎

Process Work...
จิตวิทยากระบวนการแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ระดับคือ

●การทำงานกับตัวเองภายใน Inner Work
●การทำงานที่เป็นความสัมพันธ์กับผู้อื่น Relationship Work
●การทำงานร่วมกับวาระกลุ่มหรือองค์กร  Group/Organization/World Work

ซึ่งเป็นการสร้างการตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่มโดยการสังเกตท่าทีและสัญญาณที่แสดงออกทางร่างกาย โดยมุ่งเน้นการแปรเปลี่ยนปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มไปสู่โอกาสในการสร้างสิ่งใหม่ ซึ่งเป็นเชิงบวก โดยมหาบุรุษหลายคนของโลกนี้ใช้ปัญหาในการเปลี่ยนแปลงโลก เช่น 
→เนลสันแมนเดลา
→มหาตมะ คานธี
→นางอองซานซูจี 

●Key Concept●
คือใส่ใจและให้คุณค่ากับทุกเสียง,ทุกความรู้สึกนึกคิด,ทุกมุมมองที่แตกต่างเพราะปัญหาและวิกฤตที่เกิดขึ้นในเบื้องลึกก็อาจจะนำมาซึ่งแก่นสาร

Facilitatorเป็นเพียงผู้ช่วยของธรรมชาติ...

มีวลีสรุปงาน Fa ว่า ต้องเป็นงานที่ง่าย...ถ้าเราทำแล้วเหนื่อยแสดงว่าเราทำมากเกินไปหรือทำไม่ถูกทาง

ความจริง 3 ระดับ ( 3 Levels Reality) คือ 

1.ระดับความจริงเห็นพ้อง  ส่วนนี้ถ้ามองในส่วนธรรมะก็คือสิ่งที่เป็นสมมุติไม่ว่าจะเป็นกฎกติกา ทางสังคม ที่เราถูกกำหนดให้ดำรงร่วมกัน

2.ระดับไร้สำนึกหรือดรีมแลนด์ เป็นการแสดงความคิดผ่าน สิ่งที่ลึกๆก็เป็นการที่เราพูดแทนเขาหรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับผู้ที่ เป็นส่วนหนึ่ง 

3.ระดับแก่นแท้คือการหาพื้นที่ร่วมหาความต้องการเบื้องลึกของกลุ่ม

"งาน Fa..กระบวนกรจะหาพื้นที่ง่ายๆก่อน"
และอีกหลัก ที่มีความสำคัญคือ 

Role Switching คือการฝึกเปลี่ยนบทบาทเช่นเมื่อการพูดคุยในกลุ่มหรือแม้แต่การแสดงความคิดเห็นเมื่อ 2 ฝ่ายเริ่มพูดคุยไปถึงจุดที่ยากให้เราหาจุด common ground ซึ่งเป็นจุดที่ ทั้ง 2ฝ่ายยอมรับร่วมกันได้. โดยที่เราไม่ได้ยึดเอาความคิดของเราแบบสุดโต่ง อาจจะต้องเห้นคล้อยตามฝ่ายตรงข้ามบ้างในบางจังหวะคำพูด เพื่อสร้างสภาวะที่อ่อนโยนลงในข้อสนทนาที่แตกต่าง

#เพราะมนุษย์ขัดแย้งกันที่วิธีการไม่ใช่ความต้องการ 

Elder Ship หรือสัตบุรุษ 
(เมนเดลได้ให้แนวคิดว่าต้องประกอบด้วย

Create home for all = ให้ความรู้สึกว่าเป็นบ้านของทุกคน ทำให้ทุกคนเคารพในความต่างมองเห็นคุณค่าและมีความเท่าเทียม

Value all voices = ให้คุณค่ากับทุกเสียง,รับฟัง,หลอมรวมแม้เสียงที่แตกต่างหรือเสียงที่เป็นส่วนน้อย อีกทั้งผู้ที่ยืนอยู่ชายขอบ(ไม่กล้าตัดสินใจ)ให้เขาได้แสดงศักยภาพและความคิด อันอาจจะเป็นแก่นสาร

See trublemakers as a teacher = มองเห็นปัญหาอุปสรรคความขัดแย้งที่เผชิญนั้นเป็นครูและเป็นโอกาสในการร่วมกันเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น.
...จบวันแรก...
~~~~~~~~~~~~~~


อบรมโดยโยมอจ.โอม รัตนกาญจน์
วัดอมรคีรี&วัดสุวรรณารามฯ

สรุปบทเรียนการอบรมในวันที่ 2 เริ่มต้นด้วยการทบทวนความคิดเห็นสิ่งที่ได้เรียนรู้ ในวันก่อนมีการเพิ่มเติมว่าการทำหน้าที่ของผู้นำกระบวนการจะเลือกให้ผู้ ที่อยู่ในกลุ่มได้รับความเท่าเทียม ไม่ถูกปล่อยให้เป็นผู้ตาม...ซึ่งทำให้ผู้ร่วมไม่ได้แสดงสิ่งที่เขาอยากสื่อสาร

ซึ่งการเป็นผู้ตามนั้นไม่ได้ทำให้เขาได้ใช้ชีวิตในแบบของเขา ส่วนการเอื้อให้ผู้คนในกลุ่ม ได้พูดถึงเรื่องราวของกันและกันก็ทำให้มีพื้นที่ปลอดภัยได้ง่ายขึ้นอีกทั้งจะทำให้กิจกรรมอยู่ในพื้นฐานของใจ มากกว่าเป็นแค่การทำกิจกรรมครั้งหนึ่งหนึ่งให้จบไป

ว่าด้วยเรื่อง
● 4 Types Ranks ●

→ สถานะเชิงสังคม
คืออายุการศึกษาฐานะทางเศรษฐกิจเพศเชื้อชาติก็เป็น
ส่วนทำให้เกิด Rank ที่ต่างในวงสนทนา

→ สถานะเชิงบริบทหรือโครงสร้างของการสนทนา ถ้าผู้ร่วมไม่ได้ตระหนักรู้มากพอคนที่มีRank มาก..ก็ จะนำไปใช้ในทางที่ผิดเช่นแสวงหาประโยชน์

→ สถานะเชิงจิตวิทยาเช่นความมั่นคงภายใน การเข้าใจในตนเองและเข้าใจผู้อื่น เช่น บางครั้งการกล่าวสุนทรพจน์ ที่เป็นประวัติศาสตร์ของโลกก็เกิดจากการพูดของเด็กยากจนคนหนึ่ง

→ สถานะเชิงจิตวิญญาณ คือการสามารถเชื่อมโยงให้ผู้คนได้ร่วมรับรู้ถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าอัตตาตัวตนเช่นการกล่าวถึงธรรมะ,กล่าวถึงพระพุทธเจ้า

"3 Main Root"
1. Jungian Psychology ทฤษฎีของคาร์ล จุง เพิ่งทำงานกลับด้านที่เป็น เงามืดของผู้คน shadow เพื่อให้เราสามารถอบกอด ในทุกด้านของตัวเองได้อย่างดี ซึ่งเงามืดนี้ก็คือเรา เพียงแต่เราไม่ค่อยให้เขาได้ออกมา แสดงตัวตน

2. Tao ทฤษฎีของเต๋าศึกษาการคิดย้อนแย้งของผู้คน ซึ่ง facilitator จะต้องใช้ทฤษฎีของเต๋าคือความง่าย เช่นนกบินในอากาศปลาว่ายในน้ำหรือทฤษฎีของเต่าหลายๆอย่าง มีความจริงบอกว่าถ้าชีวิตเราทำอะไรแล้วรู้สึกว่าแรงว่าเรากำลังเดินผิดทาง
และTao มีวิธีที่ให้ผู้คนข้ามพ้นความเป็น "ทวิภาวะ"

3. Quantum Physics เชื่อว่าทุกสิ่งซ้อนกันอยู่ในชีวิตของเราเอง
เช่นสิ่งบางอย่างในอนาคตหรืออดีตจะบอกถึงสิ่งที่เป็นเราอยู่ในปัจจุบันนี้

● 12 STEP for Facilitatur ●

1. fa ทำหน้าที่เปิดพื้นที่เชื้อเชิญผู้คนในวงให้เสนอหัวข้อ topic
ทำหน้าที่รวบรวมและคัดกรองประเด็น
◎ ช่วยจับประเด็นให้เป็นวาระของกลุ่มซึ่งเป็นหัวข้อ
ที่ทุกคนแคร์ร่วมกัน

2. ช่วยกลุ่มในการเชื่อมโยงหัวข้อที่เกี่ยวข้องกันไว้ให้เป็น ประเด็นใหญ่ ประเด็นเดียว เพื่อให้กลุ่มเห็นภาพรวมและสามารถที่จะตัดสินใจพูดคุยลงลึกรายละเอียด

3. Indentify Roles 
เมื่อได้หัวข้อที่ทั้งกลุ่มเห็นร่วมที่จะพูดคุย
  fa ทำหน้าที่เริ่มสะท้อนความคิดเห็นหรือจุดยืนของแต่ละขั้ว โดยทำหน้าที่เป็นกลางและเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองให้มีพื้นที่คิดเห็นร่วมกันได้

4. Invite different Voices
เปิดพื้นที่ให้แต่ละเสียงแต่ละฝ่ายมีโอกาสพูดให้ความสำคัญและใส่ใจกับฝั่งที่เป็นเสียงส่วนน้อยหรือบุคคลที่ยืนอยู่บนชายขอบด้วยความเท่าเทียม

5. Framing หรือ Weather Reports
การรายงานหรือพูดถึงสภาพ สภาวะหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในกลุ่มเพื่อให้ตระหนักรู้ร่วมกันในกลุ่มและกลุ่มรับรู้ร่วมกันเช่นบรรยากาศในกลุ่มหรือสัญญาณต่างๆที่มีความหมายต่อกลุ่ม

6. Hotspot จุดร้อน
ให้ข้อสังเกตกับกลุ่มเมื่อมีประเด็นร้อนหรือถึง สภาวะที่ข้อขัดแย้งแตกต่างกันถึงจุดสูงสุดซึ่งต้องสังเกตจาก
สัญญาณและท่าที  
fa ต้องทำหน้าที่ประสานจุดนั้นให้กลับมาอยู่ในจุดที่เหมาะที่ควร

7. Edges ภาวะติดขอบ การก้าวข้ามความกลัว
fa ต้องให้ข้อสังเกตเมื่อกลุ่มอยู่ในภาวะติดขัด..พูดไม่ออก ต้องสามารถช่วยให้ผู้คนข้ามขอบหรือสามารถเป็นตัวเชื่อมถึง สิ่งเหล่านั้น

8. Ghost  บุคคลที่ 3
fa ทำหน้าที่ถึงบทบาทของผู้ที่มิได้อยู่ในสถานที่แห่งนั้น
เสียงที่ไม่มีใครกล้าพูดในกลุ่มแต่มีอิทธิพลต่อประเด็นขัดแย้งเราต้องทำหน้าที่เชื่อมให้กลุ่มได้ตระหนักรู้ร่วมกัน เช่นการที่คนในกลุ่มไม่สามารถพูดถึงคนๆนั้นได้ตรงตรง
faมีหน้าที่เชื่อมสิ่งนี้

9. Cool spot จุดเย็น
ช่วงนี้ถือเป็น ช่วงที่กลุ่มจะได้รับของขวัญ
อาจจะเป็นช่วงที่ความขัดแย้งเริ่มคลี่คลายหรือสภาวะในกลุ่ม เกิด มิติที่หลอมรวมใจผู้คน จะได้อาศัยจังหวะนี้ในการยกประเด็นนี้ขึ้นมากล่าวถึงเพื่อให้ผู้คนได้เบิกบาน หรือประทับใจร่วมกัน

10. Indentify Level Swicthes
สังเกตการพูดคุยหรือการแชร์แลกเปลี่ยนความคิดจะมีระดับความคิดที่แตกต่างเราต้องกำหนดและเชื่อมความคิดเหล่านี้

11. Invite Personal Level
เชื้อเชิญและสนับสนุนให้ผู้คนในวงและแบ่งปันประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์ส่วนตัวเพื่อข้ามพ้นบทบาทที่กำลังสวมอยู่และนำพาให้การพูดคุยของกลุ่มลงลึกได้มากขึ้น

12. Closing 
หลังจบการพูดคุยผู้นำกลุ่มมีหน้าที่ช่วยสะท้อนและสรุปให้กลุ่มฟังว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างหรือมีประเด็นหรือแง่มุมอะไรที่กลุ่มได้ค้นพบร่วมกันหรือมีนัยยะสำคัญประการใดหรืออาจมีประเด็นใดน่าจะเป็นหัวข้อหรือวาระการพูดคุยในครั้งคราวต่อไป
_____________________________________________
สุดท้ายมีการทดลองทำ case study ซึ่งใช้หัวข้อว่า อะไรทำให้ผู้คนอยากเข้าร่วม กับคิลานธรรมหรืออะไรทำให้ผู้คนไม่อยากเข้าร่วม

โดยสมมติบทบาทเป็นทั้งสองฝ่ายแต่ได้ข้อที่สำคัญและ สามารถนำไปกำหนดเป็นสิ่งที่เราจะได้ทำต่อไปในอนาคตไม่ว่าจะในงานโครงการเยียวยารุ่นที่ 3 ปลายปีเ

เช่นหัวข้อที่ว่าเมื่อเราจะเปิดรับผู้คนเข้ามาร่วมงานกับเรานั้นแล้ว
เราเองเปิดรับพวกเขาเต็มที่แล้วหรือไม่
หรือมีพื้นที่ให้บุคคลที่จะเข้ามาใหม่ ได้มีพื้นที่มากน้อยเช่นไร หรือกระบวนการจัดการกลุ่มของเราแท้จริงแล้วเป็นแบบไหน
การเข้าถึงความเป็นคิลานธรรมจริงๆแล้วคืออะไร

รวมถึงพูดถึงสิ่งที่เป็นสิ่งที่เราสามารถจะสร้างความศรัทธาให้เกิดกับบุคคลที่จะเข้ามาร่วมงานกับเราซึ่งก็มีหลายข้อที่ได้พูดถึงและพร้อมที่จะมอบ เป็นของขวัญให้แก่ผู้คนในการทำงานของเราซึ่งถือว่าเป็น case study ที่มีความหมายอย่างยิ่งซึ่งจะได้พูดถึงในโอกาสพบเจอครูบาอาจารย์ต่อต่อไป

โดยรวมสรุปการเรียนรู้ในวันนี้เป็นประมาณนี้